top of page

เพราะ Passion ไม่ใช่ทุกอย่าง | พาส่องข้อเสียของการมี Passion มากไป


“Passion เป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้จัดการทั่ว ๆ ไปกลายเป็นหัวหน้าที่ยอดเยี่ยมได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันซับซ้อนกว่านั้นมาก”

Jon M. Jachimowicz. ผู้ช่วยศาตราจารย์ที่ Harvard ได้กล่าวไว้



ในบทความนี้ Smartcruit ตั้งใจจะมาพูดถึง “ด้านมืด” ของ Passion กันให้ฟังบ้างครับ หลังจากที่พวกเรามักจะได้ยินแต่ข้อดีของมันมาตลอด หลังจากที่ได้อ่านงานวิจัยอย่างย่อของจอนแล้ว ก็พบว่าถ้าหากเราใช้ Passion ได้ไม่ถูกที่ ไม่ถูกเวลา ไม่ถูกสถานการณ์แล้วล่ะก็… เราจะต้องเจอกับปัญหาที่ตามมา ถึงขั้นไม่ได้เงินลงทุนบริษัทเลยก็ได้นะครับ มันเป็นมายังไง ไปอ่านกันเลยครับ


📌 มี Passion มากไป อาจจะพังมากกว่าปัง

ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างเวลาที่เราไปเสนองานให้กับนายทุนต่าง ๆ หรือขายงานให้กับลูกค้าหลาย ๆ คนพร้อมกัน แต่เราแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเราอยากร่วมงานกับลูกค้าเจ้าใดเจ้าหนึ่งเท่านั้น ก็อาจจะทำให้เหล่านักลงทุนหรือลูกค้าเหล่านั้นไม่ชอบใจ และมองเราในด้านลบไปเลย ไม่ว่าเราจะมีความ Passionate มากขนาดไหนกับการร่วมงานหรือได้รับการสนับสนุนจากใคร เราก็ควรแสดงออกให้เหมาะสมต่อโอกาสด้วย


📌 Passion ไม่ได้เหมาะกับทุกอาชีพ

หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าทุก ๆ อาชีพ ถ้าหากมี Passion ที่แสดงออกในการทำงานแล้ว ย่อมส่งผลดีอย่างแน่นอน แต่!! จากงานวิจัยนี้บอกเอาไว้ว่า Passion ไม่ได้เหมาะกับทุกอาชีพเสมอไป อย่างเช่น “นักบัญชี” ที่ผู้คนมักจะมองว่าไม่ควรจะแสดงออกถึงความรู้สึกในการทำงาน จอนยังกล่าวไว้อีกว่า “เราอยากได้ทนายที่มี Passion ในการว่าความ แต่ไม่ต้องการศาลที่มี Passion อย่างแรงกล้าในการตัดสิน”


📌 ไม่ได้ผลหรอก ถ้าเพื่อนร่วมงานไม่เห็นด้วย

จากการวิจัยพบว่าการที่เพื่อนร่วมงานจะสนับสนุนผู้ที่มี Passion อย่างแรงกล้าในการทำงานนั้นก็เพราะว่าพวกเขาเชื่อและเห็นเป้าหมายเดียวกับคนคนนั้นนั่นเอง ดังนั้น ก่อนที่เราจะพูดถึง Passion ของเราเพื่อให้คนอื่นเห็นด้วย เราควรจะมั่นใจก่อนว่าเราทำให้ทุกคนมองเห็นเป้าหมายเดียวกันไม่อย่างนั้น Passion ก็ไม่ช่วยอะไร!


ไม่ว่าเราจะมีความ Passionate มากขนาดไหนกับการร่วมงานหรือได้รับการสนับสนุนจากใคร เราก็ควรแสดงออกให้เหมาะสมต่อโอกาสด้วย

📌 อย่าแกล้งว่ามี Passion

เชื่อไหมว่าคนเราสามารถบอกได้เลยว่าคนไหนกำลังโกหกเกี่ยวกับความมี Passion เคสแบบนี้จะเห็นกันได้บ่อย ๆ เมื่อเป็นการสัมภาษณ์งานนั่นเอง การที่เราบอกว่า “อยากทำงานที่นี่มาก ๆ ชอบงานนี้สุด ๆ” โดยที่เราไม่ได้รู้สึกแบบนั้นจริง ๆ จะเป็นผลลบกับตัวเราเอง ถึงแม้ว่าบริษัทจะเชื่อและรับเราเข้าทำงาน แต่ในท้ายที่สุด เราอาจจะทำงานที่นั่นได้ไม่นาน ความจริงจะถูกเปิดเผย ตอนนั้นแหละที่เราจะได้รู้ว่า “แย่แล้ว!”


หลาย ๆ ข้อที่นำมาบอกต่อกัน Smartcruit ก็ไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่ามันจะละเอียดอ่อนได้ขนาดนี้ ใครที่เคยพบเจอกับเหตุการณ์แบบด้านบนหรือนอกเหนือจากนี้ ก็อย่าลืมเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ เพื่อน ๆ จะได้นำไปพัฒนาต่อ มาสร้างสังคมคุณภาพสำหรับคนวัยทำงานกันเถอะครับ!


อ่านบทความที่น่าสนใจต่อได้ที่นี่เลย!

37 views0 comments

Comments


bottom of page